ในเดือนมีนาคม 2020 นักเรียนทั่วอเมริกาต่างตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันโดยกะทันหัน นั่นคือการต้องนั่งเรียนจากที่บ้านอย่างไม่คาดคิด เป็นการเรียนรู้ระยะไกลในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง เนื่องจากการดำเนินการตอบสนองในระดับประเทศต่อการระบาดอย่างรวดเร็วของโรคโควิด-19 แต่ความเหมือนกันสิ้นสุดลงแค่นั้น ขณะที่นักเรียนทุกคนจำเป็นต้องทำงานจากที่บ้าน แต่ก็ไม่ได้มีประสบการณ์หรือสภาพแวดล้อมของชีวิตที่บ้านที่เหมือนกันไปเสียทุกคน นอกจากนี้ การเข้าถึงเทคโนโลยีของนักเรียนก็อาจแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงได้เช่นกัน
เราต้องการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกบางประการจากผู้ที่กำลังประสบกับความยากลำบากนี้เกี่ยวกับวิธีในการปรับตัวของพวกเขาให้เข้ากับสถานการณ์การเรียนรู้เสมือนจริงหรือไฮบริดและขั้นตอนที่พวกเขาใช้เพื่อมอบการเข้าถึงเทคโนโลยีแก่นักเรียน เมื่อเร็วๆ นี้ ดร. คิม ออปเปลท์ ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนและชุมชนที่ Class ได้จัดการอภิปรายเกี่ยวกับการเข้าถึงการศึกษาออนไลน์ โดยมีผู้เข้าร่วมได้แก่
- มาร์ติน แมคไกวร์ ผู้อำนวยการและหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาของเขตโรงเรียนรัฐชิคาโก ซึ่งเป็นเขตที่มีนักเรียนมากกว่า 355,000 คน
- ลีแอนน์ ซลามา หัวหน้าเจ้าหน้าที่เขตโรงเรียนโคโลราโดสปริงส์ 11 ซึ่งมีนักเรียน 24,500 คน
- ไมเคิล วอล์คเกอร์ ผู้อำนวยการสำนักงานเพื่อความสำเร็จของนักเรียนผิวดำ (Office of Black Student Achievement) แห่งเขตโรงเรียนมินนีแอโพลิส ซึ่งเป็นเขตที่มีนักเรียน 32,000 คน
สมาชิกแต่ละรายในคณะกรรมการของเราเป็นตัวแทนของเขตต่างๆ ที่ต้องรับมือกับขนาดของระบบและลักษณะของประชากรที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม พวกเขาต่างพบกับประสบการณ์ที่คล้ายกัน โดยเฉพาะในด้านการเรียนรู้ที่จะทำงานกับโซลูชันเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้สามารถใช้งานการเรียนรู้เสมือนจริงได้ในช่วงของการแพร่ระบาด

ความท้าทายของการศึกษาทางไกล
กล่าวได้ว่านักเรียนทุกคนล้วนได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อยจากการหยุดชะงักด้านการศึกษาซึ่งเกิดจากการแพร่ระบาดและการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้เป็นแบบทางไกลหรือไฮบริด ในเบื้องต้น เขตโรงเรียนประสบกับความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการช่วยให้นักเรียนเข้าถึงเทคโนโลยีและ Wi-Fi ที่จะช่วยให้พวกเขาสามารถเรียนรู้จากที่บ้านได้
กลุ่มคนที่ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดได้แก่กลุ่มนักเรียนผิวสี รวมถึงนักเรียนจากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำหรือที่อยู่ในสภาพแวดล้อมทางบ้านที่มีปัญหา สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้เรายกระดับความมุ่งมั่นที่จะมอบการเข้าถึงเทคโนโลยีด้านการศึกษาอย่างเท่าเทียม ทั้งในปัจจุบันและอนาคต และกระตุ้นให้เกิดความตระหนักรู้มากขึ้นถึงความท้าทายที่หลายครอบครัวประสบ
การที่นักเรียนไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้คืออุปสรรคอันใหญ่หลวง แมคไกวร์ได้กล่าวในระหว่างการอภิปรายว่านักเรียนมากกว่า 110,000 คนจาก 355,000 คนในเขตไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในช่วงเริ่มต้นของการแพร่ระบาด ซึ่งเป็นความท้าทายซึ่งหน้าและเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเขตได้ดำเนินการแก้ไขอย่างรวดเร็วด้วยการจัดหาฮอตสปอตสำหรับนักเรียนผ่านความร่วมมือระหว่างระบบโรงเรียนและชุมชน “แม้จะยากลำบาก แต่เรากำลังดำเนินการในทิศทางที่ถูกต้อง” เขากล่าว
วอล์คเกอร์ชี้ให้เห็นว่าการที่นักเรียนจะเข้าถึงการเรียนรู้ออนไลน์ได้นั้นมีอุปสรรคมากกว่าแค่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างเช่น ในหลายๆ ครอบครัวมีสมาชิกหลายคนที่เรียนหรือทำงานจากที่บ้านพร้อมกันซึ่งส่งผลให้ Wi-Fi ช้าลง
นักเรียนและครูต้องเผชิญกับพัฒนาการของการเรียนรู้ที่ยากลำบากในช่วงแรก แต่ระบบของโรงเรียนเหล่านี้และโรงเรียนอื่นๆ ก็พัฒนาขึ้นและรับมือกับความท้าทายนี้ได้อย่างรวดเร็ว พวกเขาได้เรียนรู้อย่างมากมายตลอดกระบวนการ
การเข้าถึงเทคโนโลยีของนักเรียน สิ่งที่ได้เรียนรู้
“สิ่งหนึ่งที่ผมได้เรียนรู้ตลอดกระบวนการนี้คือการลดความเร็วและรับฟัง” วอล์คเกอร์กล่าว “รับฟังนักเรียน รับฟังครอบครัว หากเราถามคำถามที่ถูกต้อง พวกเขาก็จะให้ข้อมูลกับเรา ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเราที่จะสำรวจและค้นหาวิธีมอบข้อมูลนั้นแก่พวกเขา”
ชั้นเรียนออนไลน์นั้นไม่ได้มีเฉพาะการฟังและการเรียนรู้เท่านั้น ระบบโรงเรียนยังได้ติดต่อไปยังครอบครัวเพื่อสำรวจว่าพวกเขาเป็นอย่างไรบ้าง วอล์คเกอร์กล่าวว่ากระบวนการที่มินนีแอโพลิสนั้นเกี่ยวกับ “การติดต่อและการโทรศัพท์หานักเรียน การโทรศัพท์หาครอบครัว และการสอบถามว่า “คุณเป็นอย่างไรบ้าง” “คุณทำอย่างไรเพื่อให้กระตือรือร้นอยู่เสมอ คุณทำอย่างไรเพื่อหาพื้นที่ส่วนตัวให้ตัวเอง” และมีความตั้งใจที่จะทำเช่นนั้นจริงๆ”
ระบบยังได้เรียนรู้วิธีปรับตัวและสามารถรับมือกับความคลุมเครือและสภาวะที่ไม่แน่นอนในอนาคต
ดังที่ฟลามาได้กล่าวว่า “หนึ่งในสิ่งที่เราได้เรียนรู้คือเรามีความคล่องแคล่วได้” ระบบโรงเรียนได้ออกโครงการริเริ่มเกี่ยวกับแล็ปท็อปภายในเวลาเพียงไม่กี่เดือน แต่ฟลามายอมรับว่า “เพียงเพราะว่านักเรียนมีความเข้าใจในเทคโนโลยีไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะมีสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเข้าถึง” “นั่นคือจุดที่เป็นความท้าทาย” เธอกล่าว
เพื่อเป็นการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ ระบบโรงเรียนได้ร่วมมือกับชุมชนและผู้ร่วมโครงการอื่นๆ เพื่อตอบสองความต้องการของนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้
“เรามีพันธมิตรที่มาหาเราและพูดว่า “เราช่วยได้”” แมคไกวร์กล่าว เขตโรงเรียนของเขาได้มีการร่วมมือกับสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นที่เสนอให้นำการสอนบางวิชาไปออกอากาศทางโทรทัศน์ได้ “เราปรับเปลี่ยนเนื้อหามากมายที่เรามีและทำให้พร้อมสำหรับออกอากาศ” เขากล่าว โทรทัศน์ช่องหนึ่งนำเสนอข้อมูลเป็นภาษาสเปนทั้งหมด เขากล่าวว่าความร่วมมือเหล่านี้รวมถึงความร่วมมืออื่นๆ ล้วนเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง
ขณะที่ผู้ดูแลการศึกษาเหล่านี้มองไปยังอนาคต พวกเขาไม่เพียงรอคอยเวลาที่จะได้พบกันซึ่งหน้า แต่ยังรับรู้ถึงคุณค่าที่จะได้รับจากการศึกษาทางไกลซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเขาเล็งเห็นโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อดำเนินการฝึกอบรมสำหรับครูและเจ้าหน้าที่

มองไปยังอนาคต
“ถ้าเราจะสามารถทำงานผ่านทางออนไลน์ทั้งหมดแค่เพียงไม่กี่วันต่อปีคงเป็นสิ่งที่ดีมาก” แมคไกวร์กล่าว “นั่นคงเป็นแนวคิดที่ดีที่เราจะช่วยให้ทุกคนคุ้นเคยกับเทคโนโลยี กับการนำเสนอ พัฒนาตัวเองสายอาชีพของตนเพื่อให้ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นในสภาพแวดล้อมนี้”
พวกเขาพัฒนาขึ้นอย่างมากตลอดปีที่ผ่านมา และพวกเขาก็ภูมิใจในความสำเร็จที่ได้รับ
“ฉันภูมิใจจริงๆ ที่เราสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ และฉันหวังว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิตจากสิ่งที่เราได้เรียนรู้ในปีนี้” ซลามากล่าว
“หวังว่าเราจะค้นพบวิธีที่จะช่วยให้นักเรียนไม่พลาดบทเรียนใดๆ แม้ว่าจะไม่สามารถไปโรงเรียนได้ก็ตาม” วอล์คเกอร์กล่าว “เราจะใช้เทคโนโลยีอย่างไรเพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนจะยังได้รับการศึกษา และยังเชื่อมต่อกับครูเพื่อรับการสอนในแต่ละวัน”
นี่คือจุดที่เครื่องมืออย่าง Class เข้ามามีบทบาทซึ่งพิสูจน์ว่าเป็นทรัพยากรชั้นยอดที่ระบบโรงเรียนที่มีนักเรียนทุกประเภทและทุกระดับการสอนสามารถพึ่งพาได้

มองไปสู่อนาคตกับ Class
เมื่อนักเรียนเปลี่ยนเข้าสู่การเรียนแบบออนไลน์ การสอนก็ทำได้ยากยิ่งขึ้น แม้กระทั่งสิ่งง่ายๆ เช่นการเข้าเรียน การให้คำถาม หรือการทำงานเป็นทีมเล็กๆ ก็เป็นความท้าทายทั้งครูและนักเรียน Class ได้พิจารณาข้อเสียดั้งเดิมของการเรียนรู้ออนไลน์อย่างลึกซึ้งและพบวิธีทำให้ห้องเรียนเสมือนจริงมีการโต้ตอบมากขึ้น มีส่วนร่วมสูงขึ้น และตอบสนองความต้องการของนักเรียนได้ดียิ่งขึ้น ระบบนี้นำเอาคุณลักษณะที่ดีที่สุดของห้องเรียนมารวมกันและผสานเข้ากับ Zoom ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นักเรียนและครูต่างมีความคุ้นเคยในระดับหนึ่ง
ในกระบวนการดังกล่าวและตลอดปีที่ผ่านมา เราได้พิจารณาอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับอนาคตของห้องเรียนเสมือนจริง โดนเฉพาะอย่างยิ่ง เราได้พิจารณาว่าสภาพแวดล้อมเสมือนจริงและการเข้าถึงเทคโนโลยีของนักเรียนจะส่งผลกระทบต่อความเท่าเทียมกันในโรงเรียนและสังคมนอกโรงเรียนอย่างไรบ้าง
หากต้องการฟังมุมมองเพิ่มเติมจากแมคไกวร์ ซลามา และวอล์คเกอร์ เราขอเชิญให้คุณฟังการสัมมนาออนไลน์